เมนู

ย่อมจะเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ ย่อมบรรลุปรมัตถวิสุทธิได้ เหมือนอย่างที่ตรัส
ไว้ว่า
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.
เมื่อใด เห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็น
อนัตตา เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่ง
วิสุทธิ
ดังนี้.

พรรณนาปัญหาว่า อะไรเอ่ย ชื่อว่า 3


บัดนี้ พระศาสดาผู้มีจิตอันพระเถระทำให้ทรงยินดีด้วยการพยากรณ์
ปัญหาแม้นี้แล้ว จึงตรัสถามปัญหายิ่งขึ้นไปเหมือนนัยก่อน ๆ ว่า อะไรเอ่ย
ชื่อว่า 3. พระเถระกล่าวซ้ำว่า ตีณิ 3 เมื่อแสดงสังขยาจำนวนที่เหมาะแก่ลิงค์
เพศศัพท์ แห่งความที่พึงพยากรณ์อีก จึงทูลตอบว่า ติสฺโส เวทนา คือ
เวทนา 3. อีกนัยหนึ่ง พระเถระคิดว่า จำเราจะกลับคำว่า ตีณิ ความของ
เวทนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ติสฺโส เวทนา เมื่อแสดงจึงทูลตอบ.
บัณฑิตพึงทราบความในข้อนี้ ดังกล่าวมาฉะนี้. ด้วยว่าเทศนาของเหล่าท่าน
ผู้บรรลุเทศนาอันวิลาศ เพราะความแตกฉานแห่งปฏิสัมภิทา มีกถามุขเป็นอัน
มาก แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า ตีณิ นี้ เป็นบทเกิน. แต่พระเถระ
กล่าวในที่นี้ว่า ติสฺโส เวทนา คือ เวทนา 3 ก็ตามนัยก่อน ๆ นั่นแล
มิใช่กล่าวเพราะไม่มีธรรม 3 อย่างอื่น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรม 3 เหล่านี้ ภิกษุ
เมื่อหน่ายโดยชอบ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้
ในธรรม 3 คือเวทนา 3 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรม

3 เหล่านี้แล ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ ฯลฯ ย่อมเป็น
ผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ คำนี้ใดว่า ปัญหา 3 อุทเทส 3
ไวยากรณ์ 3 ดังนี้ คำนี้เราอาศัยข้อนั้นกล่าวแล้ว
ดังนี้.
ในปัญหาข้อนี้ พึงทราบว่า ภิกษุละสุขสัญญา ความสำคัญว่าสุข
ด้วยการเห็นเวทนาทั้งสามเป็นทุกข์ แล้วหน่ายโดยมุขคือการพิจารณาเห็นทุกข์
ตามแนวพระสูตรที่ตรัสไว้ว่า เวทนาความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั่ง
หมดนั้นเรากล่าวว่าเป็นทุกข์ หรือตามแนวความเป็นทุกข์ เพราะทุกข์เป็นทุกข์
เพราะแปรปรวนและเป็นทุกข์เพราะปัจจัยปรุงแต่งอย่างนี้ว่า
โย สุขํ ทุกฺขโต อทฺท ทุกฺขมทฺทกฺขี สลฺลโต
อทุกฺขมสุขํ สนฺตํ อทฺทกฺขิ นํ อนิจฺจโต.
ผู้ใดเห็นสุขเป็นทุกข์ เห็นทุกข์เป็นดังลูกศร
เห็นอทุกขมสุขมีอยู่ ผู้นั้น ชื่อว่าเห็นเวทนานั้นเป็น
ของไม่เที่ยง
ดังนี้.
ย่อมจะเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ ย่อมบรรลุปรมัตถวิสุทธิได้เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเย เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.
เมื่อใดเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งวิสุทธิ

ดังนี้.

พรรณนาปัญหาว่า อะไรเอ่ย ชื่อว่า 4


พระศาสดา ผู้มีจิตอันพระเถระทำให้ทรงยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหา
แม้นี้อย่างนี้แล้ว จึงตรัสถามปัญหายิ่งขึ้นไป เหมือนนัยก่อน ๆ ว่า อะไร